วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร

1. ความถูกต้องแม่นยำ ข้อมูลที่ดีควรจะมีความถูกต้องแม่นยำสูง หรือถ้ามีความคลาดเคลื่อน (errors) ปนอยู่บ้าง ก็ควรที่จะสามารถควบคุมขนาดของความคลาดเคลื่อนที่ปนมาให้มีความคลาดเคลื่อน น้อยที่สุด
2. ความทันเวลา เป็นข้อมูลที่ทันสมัย และทันต่อความต้องการของผู้ใช้ ถ้าผลิตข้อมูลออกมาช้า ก็ไม่มีคุณค่าถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำก็ตาม
3. ความสมบูรณ์ครบถ้วน ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาต้องเป็นข้อมูลที่ให้ข้อเท็จจริงหรือข่าวสารที่ครบถ้วนทุกด้านทุกประการ มิใช่ขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปทำให้นำไปใช้การไม่ได้
4. ความกะทัดรัด ข้อมูลที่ได้รับส่วนใหญ่จะกระจัดกระจาย ควรจัดข้อมูลให้อยู่ใน รูปแบบที่กระทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ สะดวกต่อการใช้และค้นหา ผู้ใช้มีความเข้าใจได้ทันที
5. ความตรงกับความต้องการของผู้ใช้ ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาควรเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ ข้อมูลต้องการใช้ และจำเป็นต้องรู้ / ทราบ หรือเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผน กำหนดนโยบายหรือตัดสินปัญหาในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครต้องการใช้หรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล
6. ความต่อเนื่อง การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในลักษณะของอนุกรมเวลา เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์วิจัยหรือหาแนวโน้มในอนาคต

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การแทนข้อมูล

แนวทางการดำเนินการให้ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการควรเริ่มจากขั้นตอนใดอย่างไร

การตัดสินใจและการตัดสิกานใจเชิงธุรกิจรตัดสินใจของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น การตัดสินใจเลือกโดยสารรถประจำทางเพื่อเดินทางไปยังสถานที่เป้าหมาย ซึ่งต้องพิจารณาจาก ราคาค่าโดยสาร ระยะทาง ระยะเวลาในการเดินทาง ความสะดวดสบายในการเดินทาง ความคับคั่งของการจราจรในเส้นทางที่ใช้เดินทาง และปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ การตัดสินใจยังเป็นหน้าที่หลักของผู้บริหารองค์กรในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย ดังนั้น ผู้บริหารจึงต้องเข้าใจกระบวนการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยกระบวนการตัดสินใจจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์และศึกษาปัญหาเพื่อหาสาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหา (อยู่ในรูปของทางเลือกในการแก้ไขปัญหา) แล้วจึงคัดเลือกแนวทางต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งต้องทำการติดตามผลลัพธ์ว่า สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ จากกระบวนการตัดสินใจข้างต้นทำให้สามารถสรุปความหมายของการตัดสินใจ ได้ดังนี้
                การตัดสินใจ (Decision Making) คือ กระบวนการคัดเลือกแนวทางปฏิบัติจากทางเลือกต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งจัดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแก้ไขปัญหา
                                         ลักษณะของการตัดสินใจเชิงธุรกิจ
                จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ว่าในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นจะต้องมีการตัดสินใจในหลาย ๆ เรื่องด้วยกัน หากลองพิจารณากันอย่างจริงจังถึงลักษณะการตัดสินใจในหลาย ๆ เรื่อง จะพบว่ามีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะของการตัดสินใจเชิงธุรกิจ (Business Decision Making) ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ทุก ๆ องค์กรล้วนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่การที่จะสามารถแยกแยะได้ว่าการตัดสินใจแบบใดคือการตัดสินใจเชิงธุรกิจนั้น จะต้องพิจารณาของการตัดสินใจหลานประการ ดังนี้
1. เป็นการตัดสินใจที่สามารถทำได้โดยลำพัง หรือร่วมกันตัดสินใจเป็นกลุ่มได้
2. เป็นการตัดสินใจที่อาจมีวัตถุประสงค์ของการตัดสินใจหลายประการที่ขัดแย้งกัน
3. มีแนวทางประกอบการพิจารณาตัดสินใจหลายทางเลือก
4. ผลของการตัดสินใจในปัจจุบัน จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการพยากรณ์เรื่องต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี
5 เป็นการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงแฝงอยู่ด้วยเสมอ เนื่องจากทัศนคติของผู้ตัดสินใจแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน
6. ผู้ตัดสินใจมักจะตัดสินใจด้วยการวิเคราะห์แบบ What-if กับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
 เป็นการตัดสินใจที่เสมือนกับการทดลองเพื่อต้องการดูผลที่จะเกิดขึ้น แต่ในลักษณะนี้เป็นการทดลอง
7ในสถานการณ์จริง ดังนั้นการตัดสินใจจึงสามารถเกิดข้อผิดพลาดได้ เรียกลักษณะการตัดสินใจเช่นนี้ว่าเป็นการ "ลองถูก - ลองผิด" นั่นเอง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในการตัดสินใจมีเงื่อนไขเพียงอย่างเดียวให้พิจารณา
8 ปัจจัยแวดล้อมการตัดสินใจ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การประมวลผลข้อมูลให้เป็นสารสนเทศมีการดำเนินการอย่างไร

การดำเนินการประมวลผลข้อมูลให้กลายเป็นสารสนเทศ  
   อาจประกอบด้วยกิจกรรมดังต่อไปนี้

      1. การจัดแบ่งกลุ่มข้อมูล ข้อมูลที่จัดเก็บจะต้องมีการแบ่งแยกกลุ่ม เพื่อเตรียมไว้สำหรับการใช้งาน การแบ่งแยกกลุ่มมีวิธีการที่ชัดเจน เช่น ข้อมูลในโรงเรียนมีการแบ่งเป็นแฟ้มประวัตินักเรียน และแฟ้มลงทะเบียน สมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองมีการแบ่งหมวดสินค้าและบริการเพื่อความสะดวกในการค้นหา
         
      2. การจัดเรียงข้อมูล เมื่อจัดแบ่งกลุ่มเป็นแฟ้มแล้ว ควรมีการจัดเรียงข้อมูลตามลำดับ ตัวเลข หรือตัวอักษร หรือเพื่อให้เรียกใช้งานได้ง่ายประหยัดเวลา ตัวอย่างการจัดเรียงข้อมูล เช่น การจัดเรียงบัตรข้อมูลผู้แต่งหนังสือในตู้บัตรรายการของห้องสมุดตามลำดับตัวอักษร การจัดเรียงชื่อคนในสมุดรายนามผู้ใช้โทรศัพท์ ทำให้ค้นหาได้ง่าย
         
      3. การสรุปผล บางครั้งข้อมูลที่จัดเก็บมีเป็นจำนวนมาก จำเป็นต้องมีการสรุปผลหรือสร้างรายงานย่อ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ ข้อมูลที่สรุปได้นี้อาจสื่อความหมายได้ดีกว่า เช่น สถิติจำนวนนักเรียนแยกตามชั้นเรียนแต่ละชั้น
         
      4. การคำนวณ ข้อมูลที่เก็บมีเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบางส่วนเป็นข้อมูลตัวเลขที่สามารถนำไปคำนวณเพื่อหาผลลัพธ์บางอย่างได้ ดังนั้นการสร้างสารสนเทศจากข้อมูลจึงอาศัยการคำนวณข้อมูลที่เก็บไว้ด้วย

จุดประสงค์ของการจัดเรียงข้อมูลคืออะไร

จุดประสงค์มีเพียงเพื่อจัดเรียงข้อมูล ให้อยู่ในเชิงลำดับ มากไปน้อย (หรือน้อยไปมาก)
ไม่ได้เกี่ยวว่าต้องเป็นงานอะไร ถึงจะใช้วิธีไหนเพียงแต่ว่า หากปริมาณข้อมูลมีมาก วิธีการ Sort ที่ดี จะช่วยลดเวลา (หรือจำนวนครั้งของการสลับที่)
ลงไปได้มาก ซึ่งเท่าที่เคยลองทำมา Quick Sort จะทำงานได้เร็วมาก แต่หากข้อมูลมีจำนวนน้อย ๆ
การใช้ Bubble Sort ก็ทำได้ดี (แถมเข้าใจง่ายกว่าเวลาเขียนโปรแกรม)ถ้าจะกำหนดว่า Quick Sort ต้องใช้กับงานอะไร ตอบได้เลยว่า ได้ทุกงาน ที่ต้องการให้มีการจัดเรียง
และมีชุดข้อมูลตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป . . . เพราะถ้ามี 1-2 ตัว มันก็ไม่ต้อง Sort แล้วเนอะ ^_^
แต่จะยิ่งเหมาะสม ถ้าจำนวนชุดข้อมูลมีมาก

ข้อแตกต่างระหว่างข้อมูลและสาระสนเทศ

หากมองโดยผิวเผิน อาจจะทำให้เข้าใจรวมความว่า  "ข้อมูล และสารสนเทศ"  เป็นสิ่งเดียวกัน  และการเข้าใจเช่นนี้อาจทำให้ผู้ที่ทำการศึกษาการพัฒนาระบบอยู่นั้นมองข้ามความสำคัญตรงส่วนนี้ไป ส่งผลให้เกิดสารสนเทศที่ไม่ตรงต่อความต้องการได้ ดังนั้นจึงขออธิบายถึงความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศดังนี้

ข้อมูลและสาระสนเทศมีความเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กันอย่างไร

  จากที่กล่าวมา ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่างๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง ข้อมูลจึงจำเป็นต้องเป็นข้อมูลที่ดีมีความถูกต้องแม่นยำ
            สำหรับ สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี             
การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล

                                                   ตัวอย่าง(ความสัมพันธ์)
ทำให้ทราบว่า เพชร แข็งขัน เป็นนักเรียนชาย เกิดวันที่ 12 เดือนมกราคม ปีพุทธศักราช 2525
ดังนั้นข้อความ เพชร แข็งขัน ชาย และ 12 ม.ค. 2525 ที่อยู่บนระเบียนประวัตินักเรียนจึงเป็นข้อมูล ถ้ามีการนำข้อมูลเกี่ยวกับปีเกิดของนักเรียนทั้งโรงเรียนจากระเบียนประวัติไปแจกแจงตามปีเกิด แสดงให้เห็น
ว่าจำนวนนักเรียนที่ได้จากการแจกแจง ข้อมูลตามปีเกิดจะเป็นสารสนเทศที่เกิดจากการนำข้อมูลไปทำการประมวลผลในบางครั้งผลสรุปจากการประมวลผลข้อมูลแบบหนึ่ง อาจนำไปใช้เป็นข้อมูลในการประมวลผลอีกแบบหนึ่งก็ได้ เช่น ในการหาระดับคะแนนเฉลี่ยวิชาต่าง ๆ ของนักเรียนจะต้องเริ่มจากการหาระดับคะแนนของแต่ละวิชาของนักเรียน จากข้อมูลคะแนนของนักเรียนแล้วหาระดับคะแนนเฉลี่ยของนักเรียน จากข้อมูลข้อมูลที่เป็นระดับคะแนนระดับวิชา
ซึ่งเป็นสารสนเทศจากการหาระดับคะแนน

ความหมายของข้อมูล

ข้อมูล หมายถึง ข้อความจริงที่อาจเป็นตัวเลขหรือข้อความก็ได้ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
  1. ข้อมูลปฐมภูมิ คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง โดยไม่มีผู้ใดเคยเก็บมาก่อน                                                                                                    
2. ข้อมูลทุติยภูมิ คือ ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องเก็บรวบรวมจากผู้ให้ข้อมูลหรือแหล่งที่มาของข้อมูลโดยตรง ได้จากผู้ที่เก็บรวบรวมไว้แล้ว