วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

แนวทางการดำเนินการให้ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการควรเริ่มจากขั้นตอนใดอย่างไร

การตัดสินใจและการตัดสิกานใจเชิงธุรกิจรตัดสินใจของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น การตัดสินใจเลือกโดยสารรถประจำทางเพื่อเดินทางไปยังสถานที่เป้าหมาย ซึ่งต้องพิจารณาจาก ราคาค่าโดยสาร ระยะทาง ระยะเวลาในการเดินทาง ความสะดวดสบายในการเดินทาง ความคับคั่งของการจราจรในเส้นทางที่ใช้เดินทาง และปัจจัยอื่น ๆ นอกจากนี้ การตัดสินใจยังเป็นหน้าที่หลักของผู้บริหารองค์กรในการนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมาย ดังนั้น ผู้บริหารจึงต้องเข้าใจกระบวนการตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยกระบวนการตัดสินใจจะเริ่มต้นจากการวิเคราะห์และศึกษาปัญหาเพื่อหาสาเหตุและแนวทางในการแก้ไขปัญหา (อยู่ในรูปของทางเลือกในการแก้ไขปัญหา) แล้วจึงคัดเลือกแนวทางต่าง ๆ ไปใช้ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งต้องทำการติดตามผลลัพธ์ว่า สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงตามวัตถุประสงค์หรือไม่ จากกระบวนการตัดสินใจข้างต้นทำให้สามารถสรุปความหมายของการตัดสินใจ ได้ดังนี้
                การตัดสินใจ (Decision Making) คือ กระบวนการคัดเลือกแนวทางปฏิบัติจากทางเลือกต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ซึ่งจัดเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแก้ไขปัญหา
                                         ลักษณะของการตัดสินใจเชิงธุรกิจ
                จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ว่าในชีวิตประจำวันของคนเรานั้นจะต้องมีการตัดสินใจในหลาย ๆ เรื่องด้วยกัน หากลองพิจารณากันอย่างจริงจังถึงลักษณะการตัดสินใจในหลาย ๆ เรื่อง จะพบว่ามีความแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะของการตัดสินใจเชิงธุรกิจ (Business Decision Making) ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ทุก ๆ องค์กรล้วนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่การที่จะสามารถแยกแยะได้ว่าการตัดสินใจแบบใดคือการตัดสินใจเชิงธุรกิจนั้น จะต้องพิจารณาของการตัดสินใจหลานประการ ดังนี้
1. เป็นการตัดสินใจที่สามารถทำได้โดยลำพัง หรือร่วมกันตัดสินใจเป็นกลุ่มได้
2. เป็นการตัดสินใจที่อาจมีวัตถุประสงค์ของการตัดสินใจหลายประการที่ขัดแย้งกัน
3. มีแนวทางประกอบการพิจารณาตัดสินใจหลายทางเลือก
4. ผลของการตัดสินใจในปัจจุบัน จะใช้เป็นข้อมูลประกอบการพยากรณ์เรื่องต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจได้เป็นอย่างดี
5 เป็นการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงแฝงอยู่ด้วยเสมอ เนื่องจากทัศนคติของผู้ตัดสินใจแต่ละคนนั้นแตกต่างกัน
6. ผู้ตัดสินใจมักจะตัดสินใจด้วยการวิเคราะห์แบบ What-if กับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
 เป็นการตัดสินใจที่เสมือนกับการทดลองเพื่อต้องการดูผลที่จะเกิดขึ้น แต่ในลักษณะนี้เป็นการทดลอง
7ในสถานการณ์จริง ดังนั้นการตัดสินใจจึงสามารถเกิดข้อผิดพลาดได้ เรียกลักษณะการตัดสินใจเช่นนี้ว่าเป็นการ "ลองถูก - ลองผิด" นั่นเอง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากในการตัดสินใจมีเงื่อนไขเพียงอย่างเดียวให้พิจารณา
8 ปัจจัยแวดล้อมการตัดสินใจ มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น